วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554
work 1
วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554
กิจกรรมครั้งที่1 เปิดโลก Computer Graphic 425437
คอมพิวเตอร์กราฟฟิก คอมพิวเตอร์กราฟฟิก คือ การสร้างและการจัดการกับภาพกราฟิกโดยใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้ ภาพกราฟิกกับงานสื่อสิ่งพิมพ์ ในหลายๆประการและสิ่งสําคัญที่จะทําให้ การประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์กราฟฟิกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพคือจะต้องมีความเข้าใจกับ ชนิดของภาพในงานคอมพิวเตอร์กราฟฟิกและรูปแบบของไฟล์กราฟิกที่ใช้กับงานออกแบบสิ่งพิมพ์
ขอบข่ายของงานกราฟฟิก งานกราฟฟิกเป็นงานที่ดูเผิน ๆ น่านะเกี่ยวกับงานพิมพ์เท่านั้นแต่จริง ๆ แล้วงานกราฟิก ยังเป็น งานที่มีความเกี่ยวพันกับงานอื่น ๆ อีก ได้แก่การประชาสัมพันธ์ ถือได้ว่างานกราฟิกนี้เป็นงานที่ควบคู่ไปกับงานบริหาร เพราะเนื้อหาของการประชาสัมพันธ์ที่ออกไปนั้น หากไม่ดึงดูดความสนใจที่ดีแล้วย่อมไม่สามารถที่จะสื่อความหมายกันระหว่างผู้ชมกับฝ่ายองค์กรได้ -งานโทรทัศน์ กราฟฟิกจะเกี่ยวข้องในส่วนที่เป็น หัวเรื่อง(title)สไลด์ ฯลฯ -งานจัดฉากละคร เช่นการจัดฉากในรูปแบบต่าง ๆ -การออกแบบตัวหนังสืองานหนังสือพิมพ์ วารสารนิยมใช้สัญลักษณ์ทางกราฟฟิกกันมากเพราะสัญลักษณ์เหล่านี้ทำให้ ผู้อ่านเข้าใจง่าย -งานออกแบบ หรือแบบร่าง เช่น ออกแบบเขียนภาพเหมือน งานพิมพ์หรือทำสำเนา ทำซิลค์สกรีน
ความสำคัญของกราฟฟิกต่อการจัดการเรียนการสอน
เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมาย เกิดการเรียนรู้ การศึกษา เกิดความน่าสนใจ ประทับใจ และน่าเชื่อถือ กระตุ้นความคิด ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมความก้าวหน้าทางความคิด วัสดุกราฟฟิกต่าง ๆ ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น
1.ใช้เป็นสื่อประกอบการสอนได้ทุกวิชาโดย เลือกใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและระดับของผู้เรียน
2. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจสิ่งนั้น ๆ ได้รวดเร็วกว่าใช้คำพูด ทำให้ประหยัดเวลาในการสอน
3. ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ มีส่วนร่วมและอยากเรียน
4. ใช้ในการโน้มน้าวจิตใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น ภาพโฆษณา การโฆษณาสินค้า
5. ใช้ในการจัดแสดงผลงาน หรือจัดนิทรรศการ
6.ใช้ในด้านเผยแพร่กิจกรรม การประชาสัมพันธ์ของทุกหน่วยงาน
7.ใช้ในการสร้างสรรค์ เปลี่ยนแปลงเจตคติ และสร้าง ความเข้าใจอันดีภายในและภายนอกองค์กร กราฟฟิกส์
แบบบิตแมป กราฟฟิกส์แบบบิตแมปความหมายที่ค่อนข้างจะตรงไปตรงมา คือมีลักษณะเป็นช่อง ๆ เหมือนตารางแต่ละบิตก็คือส่วนหนึ่งของข้อมูลคอมพิวเตอร์(ซึ่งก็คือสวิตซ์ปิดเปิด ในหน่วยความจำ “I” หมายถึง เปิด และ “O” หมายถึงปิด) และสวิตซ์ปิดเปิดนี้ก็ยังหมายถึงสีดำและขาวเหล่านี้ได้ กราฟฟิกแบบบิตแมปทุกชนิดมีลักษณะที่เหมือนกันอยู่บางประการ ถ้าทำความเข้าใจส่วนต่าง ๆ เหล่านี้เราสามารถที่จะหลีกเลี่ยงหรือป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้
กราฟฟิกแบบเวกเตอร์ กราฟฟิกแบบเวกเตอร์ต่างจากบิตแมปตรงที่บิตแมปนั้นประกอบไปด้วย จุดต่าง ๆ มากมาย แต่กราฟฟิกแบบเวกเตอร์ใช้สมการทางคณิตศาสตร์เป็นตัวสร้างภาพ เช่น วงกลม หรือเส้นตรง เป็นต้น ถึงแม้ว่าอาจจะฟังดูซับซ้อนสักเล็กน้อยแต่ภาพบางชนิดก็ถูกสร้างได้ง่าย หลักที่ จะนำไปสู่กราฟฟิกแบบเวกเตอร์ก็คือ การรวมเอาคำสั่งทางคอมพิวเตอร์และสูตรทางคณิตศาสตร์เพื่ออธิบายเกี่ยวกับออบเจ็กต์ ซึ่งจะปล่อยให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น จอภาพ หรือเครื่องพิมพ์เป็นตัวกำหนดเองว่าจะวางจุดจริง ๆ ไว้ที่ตำแหน่งใดในการสร้างภาพ คุณลักษณะเด่นเหล่านี้ทำให้กราฟฟิกแบบเวกเตอร์มีข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบมากมายกับกราฟฟิกแบบบิตแมป
รูปแบบของไฟล์ กราฟฟิกไฟล์สำหรับอินเทอร์เน็ต ไฟล์กราฟฟิกที่สนับสนุนระบบอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันมี 3 ไฟล์หลัก ๆ คือ 1.ไฟล์สกุล GIF ( Graphics Interlace File) 2.ไฟล์สกุล JPG ( Joint Photographer's Experts Group) 3.ไฟล์สกุล PNG ( Portable Network Graphics) 1.1 ไฟล์สกุล GIF (Graphics Interlace File) เป็นไฟล์กราฟฟิกมาตรฐานที่ทำงานบนอินเทอร์เน็ต มักจะใช้เมื่อ ต้องการไฟล์ที่มีขนาดเล็ก จำนวนสีและความละเอียดของภาพไม่สูงมากนัก ต้องการพื้นแบบโปร่งใส ต้องการแสดงผลแบบโครงร่างก่อน แล้วค่อยแสดงผลแบบละเอียด ต้องการนำเสนอภาพแบบภาพเคลื่อนไหว
จุดเด่น มีขนาดไฟล์ต่ำ สามารถ ทำพื้นของภาพให้เป็นพื้นแบบโปร่งใสได้ ( Transparent) ทำพื้นของภาพให้เป็นพื้นแบบโปร่งใสได้ ( Transparent) มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Interlace มีโปรแกรมสนับการสร้างจำนวนมาก เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว ความสามารถด้านการนำเสนอแบบภาพเคลื่อนไหว ( Gif Animation)
จุดด้อย แสดงสีได้เพียง 256 สี
ไฟล์ .GIF มี 2 สกุล ได้แก่
1.GIF87 พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1987 เป็นไฟล์กราฟิกรุ่นแรกที่สนับสนุนการนำเสนอบนอินเทอร์เน็ต เป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็กและแสดงผลสีได้เพียง 256 สี และกำหนดให้แสดงผลแบบโครงร่างได้ (Interlace)
2.GIF89A พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1989 เป็นไฟล์กราฟฟิกที่พัฒนาต่อจาก GIF87 โดยเพิ่มความสามารถการแสดงผลแบบพื้นโปร่งใส (Transparent) และการสร้างภาพเคลื่อนไหว (GIF Animation) ซึ่งเป็นไฟล์กราฟฟิกที่มีความสามารถพิเศษโดยนำเอาไฟล์ภาพหลายๆ ไฟล์มารวมกันและนำเสนอภาพเหล่านั้นโดยอาศัยการหน่วงเวลา มีการใส่รูปแบบการนำเสนอลักษณะต่างๆ ( Effects) ในลักษณะภาพเคลื่อนไหว
1.2 ไฟล์สกุล JPG (Joint Photographer’s Experts Group) เป็นอีกไฟล์หนึ่งที่นิยมใช้บน Internet มักใช้กรณี ภาพที่ต้องการนำเสนอมีความละเอียดสูง และใช้สีจำนวนมาก (สนับสนุนถึง 24 bit color) ต้องการบีบไฟล์ตามความต้องการของผู้ใช้ ไฟล์ชนิดนี้มักจะใช้กับภาพถ่ายที่นำมาสแกน และต้องการนำไปใช้บนอินเทอร์เน็ต เพราะให้ความคมชัดและความละเอียดของภาพสูง
จุดเด่น สนับสนุนสีได้ถึง 24 bit สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ได้ตามที่ต้องการ มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Progressive มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว ตั้งค่าการบีบไฟล์ได้ ( compress files)
จุดด้อย ทำให้พื้นของรูปโปร่งใสไม่ได้ 1.3. ไฟล์สกุล PNG (Portable Network Graphics)
จุดเด่น สนับสนุนสีได้ถึงตามค่า True color (16 bit, 32 bit หรือ 64 bit) สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ได้ตามที่ต้องการ มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียด ( Interlace) สามารถทำพื้นโปร่งใสได้
จุดด้อย หากกำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูง จะใช้เวลาในการคลายไฟล์สูงตามไปด้วย แต่ขนาดของไฟล์จะมีขนาดต่ำ ไม่สนับสนุนกับ Graphic Browser รุ่นเก่า สนับสนุนเฉพาะ IE 4 และ Netscape 4 ความละเอียดของภาพและจำนวนสีขึ้นอยู่กับ Video Card โปรแกรมสนับสนุนในการสร้างมีน้อย
ประเภทของโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟฟิก
1. Photo Retouching โปรแกรมที่เหมาะสำหรับการแก้ไข ตกแต่งภาพ และ ทำเอฟเฟกต์ให้กับภาพที่ได้สร้างขึ้นมาแล้ว ซึ่งอาจจะ มาจากภาพถ่ายจริง ได้แก่ Adobe PhotoShop, Corel Photopaint, PaintShop
2. Graphic Illustrator โปรแกรมสำหรับการออกแบบงานกราฟฟิก หรืองาน Lay out ซึ่งเป็นงานสองมิติ มีการเขียนรูปในลักษณะการเน้น เส้นเน้นรูปทรงเรขาคณิต ซึ่งไม่ใช่รูปถ่าย ได้แก่ Adobe Illustrator, CorelDraw
3. Computer Aided Design โปรแกรมสำหรับการเขียนภาพที่แสดงออกถึงมิติ ขนาด ที่ ให้ความชัดเจนของวัตถุที่ต้องการสร้างขึ้นมา ได้แก่ Auto CAD, Prodesign
4. 3D Photo Realistic โปรแกรมที่สามารถสร้างภาพสามมิติ ที่มีมวลและปริมาตร และมีคุณสมบัติของพื้นผิว จนเกิดความสมจริงของแสง และเงา ได้แก่ 3D studio MAX, Auto CAD 3D
5. Presentation โปรแกรมกราฟฟิก สำหรับช่วยในการนำเสนองาน ใน ลักษณะเป็นสไลด์ประกอบคำบรรยาย มีการสร้างภาพ กราฟฟิกที่ดูแล้วเข้าใจง่ายขึ้น เช่น กราฟชนิดต่าง ๆ หรือการสร้างแผนผังการจัดองค์กร โปรแกรมประเภทนี้ ส่วนมากใช้ในงานธุรกิจ
6. Animation เป็นโปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหวตามลำดับ โปรแกรม จะ แสดงภาพเป็นลำดับให้แลดูเหมือนภาพเคลื่อนไหว โดย อาจมีเทคนิคต่างๆ ประกอบการแสดงภาพเช่น การซ้อน ภาพ , เลื่อนภาพ, การเลื่อนภาพให้หายไปได้ และ การ แปลงภาพ รวมถึงมีลักษณะการโต้ตอบกับผู้ใช้ด้วย
สิ่งสำคัญของนักกราฟฟิก
1.ความชำนาญ สามารถหาได้จากหลายทาง แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ การฝึกฝน ลำพัง การอ่าน หรือ การหาความรู้แต่เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถที่จะ ทำให้คนเก่งกล้าสามารถได้ แต่ต้องอาศัย การฝึกหัดบ่อย ๆ จนเกิด ความชำนาญ รู้จริง รู้ลึก ในสิ่งนั้น จะขอแนะนำวิธีการฝึกฝนตนเองสัก 3 วิธี ให้เป็นแนวทาง ตามแต่จริตของแต่ละคน
1.1 วิธีการฝึกตามแบบอย่างการฝึก
1.2 วิธีการตั้งโจทย์
1.2.1 การตั้งโจทย์จากเครื่องมือ
1.2.2 การตั้งโจทย์จากภาพ
1.2.3 การตั้งโจทย์จากความต้องการ
1.3 การฝึกโดยการเลียนแบบ
2. ความรู้ในศิลปะ
3. ความคิดสร้างสรรค์
4. ความรู้ทางด้านอุปกรณ์เอาท์พุต
5. ความสนใจในเหตุการณ์รอบตัวต่าง ๆ
6. เปิดหูเปิดตา
7. ไม่กลัวสิ่งใหม่ๆ กล้าที่จะลอง
ความคาดหวังของรายวิชา
1. ต้องการได้ความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์กราฟิกให้มีที่สุด
2. สามารถออกแบบด้วยโปรแกรมต่างๆได้
3. ต้องการอธิบายได้ว่ากราฟิกคืออะไร 4. อยากได้เกรด A คร่า